วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การเมืองการปกครองของไทย

1) สมัยสุโขทัย ( พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 )
ในสมัยสุโขทัย การปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื่องจากอำนาจสูงสุดในการปกครองรวมอยู่ที่พ่อขุนพระองค์เดียว โดยพ่อขุนไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ในสมัยสุโขทัยได้มีการจำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง ทำให้ลักษณะการใช้อำนาจของพ่อขุนเกือบทุกพระองค์ เป็นการใช้อำนาจแบบให้ความเมตตาและให้เสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร
http://www.socail.th.gs/web-s/ocail/socail%2011.doc

ลักษณะการปกครอง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ “บิดาปกครองบุตร” คือ ถือว่าพระองค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพและมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ประชาชน ประชาชนในฐานะที่เป็นบุตรมีหน้าที่ให้ความเคารพและเชื่อฟังพ่อขุน การปกครองแบบนี้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันกล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิถวายฎีกา หรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุน เช่น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าประชาชนต้องการถวายฎีกาก็จะไปสั่นกระดิ่ง พระองค์ก็จะเสด็จออกมาทรงชำระความให้ ในการจัดการปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ช่วยเหลือ ในการปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์

2) สมัยอยุธยา
ลักษณะการปกครอง
ในสมัยอยุธยา สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเป็นเทวราชาอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันก็ยังคงมีความเป็นธรรมราชาเช่นเดียวกันกับในสมัยสุโขทัย
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีพระราชอำ นาจสูงสุดในแผ่นดินและการปกครองอาณาจักร โดยในระยะแรก มีเสนาบดีจตุสดมภ์ควบคุมการดูแลการบริหารราช
การแผ่นดินภายใต้พระบรมราชโองการของพระมหากษัตร์ ต่อมาภายหลังได้มีการปรับปรุงการปกครองโดยแต่งตั้งตำ แห่นงอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนขึ้นมาเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านกิจการทหารและพลเรือนตามลำดับ

โครงสร้างทางการเมืองการปกครองในสมัยอยุธยามีลักษณะสำ คัญอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอำ นาจการปกครอง โดยมีขุนนางข้าราชการทำ
หน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และควบคุมกำ ลังไพร่พลตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ นอกจากการจัดการปกครองอาณาเขตแล้ว ยังแบ่งการปกครองหัวเมืองนอกเป็นลักษณะต่างๆ เช่น เขตราชธานี เขตหัวเมืองชั้นใน เขตหัวเมืองชั้นนอก เขตหัวเมืองประเทศราช โดยในสมัยอยุธยาตอนต้นและสมัยอยุธยาตอนปลายจะมีข้อแตกต่างกันไป
http://www.banbung.ac.th/10/stdjob/social1/data/009.pdf

3) สมัยธนบุรี (พ.ศ.2310 - พ.ศ.2325)
การปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่ใช้อยู่ในสมัยอยุธยา เนื่องจากขณะนั้นเป็นระยะที่ไทยกำลังรวบรวมอาณาจักรขึ้นใหม่ พระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน) ทรงมีพระราชภาระในการปราบปรามบรรดาชุมนุมอิสระต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังกรุงศรีอยุธยาแตก

4) สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 - ปัจจุบัน)
รูปแบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาคงใช้อยู่เรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองขึ้น

ปัจจุบัน
ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี

อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล

อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้ และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
http://www.geocities.com/riz_oat/8.html


นายนวพัฒน์ ธาราวุฒิ
ID:5131601101